แม่คองซ้าย รวบรวมเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
เพื่อรวบรวมและรักษาเมล็ดพันธุ์ที่มีอยู่ในชุมชนมิให้สูญหาย ผ่านกระบวนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้กับทั้งลูกหลานในชุมชน
เพื่อรวบรวมและรักษาเมล็ดพันธุ์ที่มีอยู่ในชุมชนมิให้สูญหาย ผ่านกระบวนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้กับทั้งลูกหลานในชุมชน
เป้าหมายชุมชนมีอาหารพื้นถิ่นบริโภคและใช้ประกอบพิธีกรรม ผ่านการสร้างธนาคารอาหารท้องถิ่นบ้านหน่าแต๊ตะ (แกน้อย) กระบวนการจากการวิเคราะห์ปัญหาหลักๆ ของสมาชิกกลุ่มคือ ปัญหาหนี้สิน จึงได้นำเอาจุดแข็งของตัวเอง คือความเป็นชนเผ่าที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ของตัวเอง ผนวกกับการขาดแคลนอาหารในภาวะวิฤตที่ผ่านมา และกระแสอาหารเพื่อสุขภาพที่มาแรง ทำให้ตระหนักได้ว่า ความมั่นคงทางอาหารเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริงของกลุ่ม นำมาสู่การเพาะขยายพืชท้องถิ่นลาหู่ พืชโบราณ พืชที่เก็บไว้กินได้นาน พืชที่เสี่ยงสูญหาย ฟื้นฟูพืชที่หายไปจากชุมชน โดยการสรรหามาจากชุมชนลาหู่ในพื้นที่อื่นๆ หรือชนเผ่าอื่นๆที่ยังมีอยู่ โดยให้เกษตรกรนำร่อง 20 คนปลูก ในที่ทำกิน ที่สวนครัวหลังบ้านและพื้นที่แปลงรวมของกลุ่ม มีพืชทั้งหมดมากกว่า 100 ชนิด ผลที่เกิด – มีการสำรวจข้อมูลพืชท้องถิ่น สามารถฟื้นฟูพืชดั้งเดิม เช่น ป๊อบคอร์นดอย ข้าวฟ่างหลากสายพันธุ์– ธนาคารอาหารพืชท้องถิ่นในชุมชน มีพืชที่ได้รับการเก็บรักษาเพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ต่อไป ไม่น้อยกว่า 20 ชนิด– ครอบครัวนำร่อง 20 ครอบครัวมีอาหารท้องถิ่นบริโภคและใช้ประกอบพิธีกรรม และเกิดการแบ่งปันอาหารทั้งในชุมชนและนอกชุมชน– นำพืชอาหารที่ปลูกได้ไปนำเสนอในงานต่างๆ โดยการปรุงเป็นอาหารชนเผ่าลาหู่ และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ร่วมกับเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อให้เกิดการเผยแพร่และแบ่งปันทั้งข้อมูลแบะตัวเมล็ดพันธุ์ ข้อค้นพบ– ชุมชนต้องวิเคราะห์ตัวเอง มองให้เห็นปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข มีความต้องการที่เห็นพ้องต้องกัน มีความชัดเจนในเป้าหมาย แล้วจึงวางแผน ออกแบบกิจกรรมต่างๆ […]
ดำเนินการโดย โครงการประสานความร่วมมือคณะสงฆ์และภาคีร่วมพัฒนาขยายผลกองบุญความมั่นคงทางอาหารสำหรับครัวเรือนเปราะบางจังหวัดเชียงใหม่ เป้าหมายโครงการขยายการจัดตั้งคณะกรรมการกองบุญความมั่นคงทางอาหารใน 8 ตำบล ส่งเสริมให้คณะกรรมการมีศักยภาพในการนำหลักการสาธารณสงเคราะห์ 4 ด้านมาส่งเสริมสนับสนุนครัวเรือนกลุ่มเปราะบางให้มีรายจ่ายลดลงจากการซื้อพืชผัก มีที่อยู่อาศัยถูกสุขลักษณะ สภาพสิ่งแวดล้อมดี กินอาหารที่ปลูกเองมีความปลอดภัย กระบวนการ– ผลักดันให้เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการกองบุญความมั่นคงทางอาหาร ผ่านการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะสงฆ์ และแกนนำชุมชนในพื้นที่ – เสริมสร้างพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารในตำบล 8 ตำบล ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเสริมความรู้ด้านอาชีพ การปลูกพืชผักสวนครัว การระดมทุนผ่านการทำบุญเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง เป็นต้น ผลที่เกิด– กองบุญฯ ในระดับตำบลมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการบรรจุในแผนงานของตำบล และมีการขยายเพิ่มอีก 1 ตำบล – ในแต่ละตำบลมีศูนย์เพาะกล้า , เมล็ด พืช-ผัก ส่งต่อให้ครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง– กลุ่มเป้าหมายครัวเรือนเปราะบางสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือน 20% ต่อเดือน ข้อค้นพบ– การทำงานติดตามอย่างเข้มข้นช่วยทำให้พื้นที่แต่ละตำบลสามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง– การประสานความร่วมมือไปยังภาคีต่างๆ ช่วยต่อยอดให้การทำงานขยายผลไปได้ในหลายๆ ส่วน การขยายผล– สำนักงานวิจัยอาหารแปรูปเพื่อสุขภาพ คณะเทคโลโนยีการเกษตร ม.ราชภัฏ เชียงใหม่ นำโครงการทัชชา ร่วมสนับสนุน กลุ่มเป้าหมายครัวเรือนเปราะบางตำบลเดิม 5 ตำบล […]
ดำเนินการโดย โครงการธุรกิจเกษตรสีเขียวเพื่อขับเคลื่อนสังคม (ชุมชน) ที่ยั่งยืน Green Farm to Green Economy for Drive Social Enterprise (SE) เป้าหมายโครงการ เกิดเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่และเกษตรกรสูงวัย เพื่อวางแผนการผลิตที่มีคุณภาพ เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชนและสามารถเข้าถึงตลาดผู้บริโภค ภายใต้การจัดตั้งกลุ่มในรูปแบบ Social Enterprise (SE) สิ่งที่ทำ การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และเพาะบ่มธุรกิจเกษตรเพื่อชุมชนเพิ่มใน 3 พื้นที่ คือ1.ศูนย์การเรียนรู้ฯ ด้านการผลิตโกโก้ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโกโก้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่2.ศูนย์การเรียนรู้ฯ ด้านการผลิตกาแฟ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกาแฟ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่3.ศูนย์การเรียนรู้ฯ ด้านการผลิตข้าว ถั่วเหลือง เมล็ดพันธุ์และธัญพืช อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งแต่ละศูนย์เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิต แปรรูป และการหาตลาดร่วมกันเป็นเครือข่าย ผลที่เกิด เกษตรกรในพื้นที่ 3 พื้นที่ จำนวน 84 คน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการผลิตพืชที่ปลอดภัย และการดำเนินการธุรกิจเกษตรร่วมกัน มีผลิตภัณฑ์เกษตรสีเขียวผ่านการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ฯ โดยสามารถเชื่อมโยงตลาดในปัจจุบันได้ และมีการเชื่อมโยงองค์กรภาคีทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน […]
โดย โครงการส่งเสริมการจัดการพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารพัฒนาเครือข่ายอาหารปลอดภัยเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป้าหมายโครงการ เกิดพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันของการสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยให้ชุมชนและเครือข่าย ที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารของคนในเมือง กระบวนการ– พัฒนาพื้นที่กลางของชุมชนในการปลูกผักสวนครัว และทำกิจกรรมร่วมกัน ฌดยคนในชุมชนสามารถนำผักที่ร่วมกันปลูกกลับไปทำอาหารให้ครอบครัวตัวเองได้– ส่งเสริมให้เครือข่ายคนแป๋งเมืองเป็นศูนย์เรียนรู้ในการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ การทำปุ๋ยหมักที่ จะกระจายไปยังชุมชนอื่นๆ ได้ ผลที่เกิด – เกิดพื้นที่กลางที่จะเป็นแหล่งปลูกผักสวนครัวที่จะให้เกิดความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มเปราะบางในชุมชนได้ 5 พื้นที่– มีศูนย์เรียนรู้แลกเปลี่ยนที่จะเป็นการสร้างพื้นที่เรียนรู้ในระดับเครือข่าย 1 เครือข่าย– กลุ่มเปราะบางในชุมชนมีแหล่งอาหารที่สามารถลดรายจ่ายได้ 10 ชุมชน 70 ครัวเรือน ข้อค้นพบ– การส่งเสริมให้กลุ่มผู้เปราะบางหรือผู้สูงอายุที่ว่างงานได้มาร่วมกันสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้กับตนเอง ครอบครัว ไปจนถึงชุมชน เป็นเรื่องเล็กๆ แต่ส่งผลดีกับสุขภาพของคนในชุมชนอย่างมาก– การจัดพื้นที่กลางของคนในชุมชนต้องมีการบริหารจัดการที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้กลายเป็นของคนใดคนหนึ่ง การขยายผล– การขยายพื้นที่ไปยังชุมชนที่สนใจในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะ เรื่องอาหารปลอดภัยสำหรับชุมชนในเมือง
เป้าหมายโครงการ เราต้องการเห็นผู้สูงอายุในทุกพื้นที่ได้รับการยอมรับในแง่ผู้แก่ด้วยความรู้ ด้วยภูมิปัญญา มีแรงกายและแรงใจล้นเหลือสำหรับพัฒนาตนเองและพัฒนาท้องถิ่น เราเห็นถึงความสำคัญของระบบอาหารของชุมชนที่ต้องการการพัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน โดยมีผู้สูงอายุเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนานี้ และเป็นเสมือนครัวที่เลี้ยงคนในชุมชน สิ่งที่ทำเราเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง และตำบลแม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นผู้นำและผู้ถ่ายทอดการประกอบอาหารท้องถิ่น รวมถึงเสริมศักยภาพและสนับสนุนให้นำความรู้เหล่านั้นมาประกอบธุรกิจอาหารเพื่อบริการคนในชุมชน ให้เกิดระบบและเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ผลที่เกิด พื้นที่ ต.หนองควายเกิดกลุ่มผู้สูงอายุที่รวมตัวกันทำธุรกิจอาหารในชุมชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ จำนวน 10 คน ต.แม่เหียะ เกิดกลุ่มผู้สูงอายุที่รวมตัวกันทำอาหารเป็นกลุ่มขนาดเล็ก จำนวน 3 กลุ่ม จำนวนรวม 6 คน การทำธุรกิจอาหารนี้ทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมร่วมที่ก่อให้เกิดรายได้ ระหว่าง 80 – 300 บาท นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีความภาคภูมิใจที่ตนสามารถสร้างรายได้ และเป็นส่วนหนึ่งของการบริการชุมชน นอกจากนี้การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมของเครือข่ายทำให้ผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน ต่างพื้นที่ ต่างบริบท ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน บทเรียนที่ค้นพบ การทำงานของผู้สูงอายุมักมีพื้นฐานมาจากความสุข รายได้เล็กน้อยเป็นเพียงส่วนเสริมให้มีกำลังใจทำต่อ การทำงาน ทำอาหาร หรือทำธุรกิจควรเป็นงานที่ไม่หนักจนเกินไป ควรมีระบบเข้ามาช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดการทำงานได้ง่ายขึ้น รวมถึงควรมีความร่วมมือหรือช่วยเหลือจากคนทำงานวัยอื่นๆ เช่น การส่งของ การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ สิ่งที่อยากส่งต่อ- ขยายผลการทำงานร่วมกับผู้สูงอายุควรสร้างเป้าหมายให้ชัดเจนร่วมกัน เน้นการดึงและเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุเอง […]
เทศบาลตำบลสันป่าเปา เป้าหมายโครงการ ศูนย์สร้างงานผู้สูงวัยเทศบาลตำบลสันป่าเปา อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ มีความเข้มแข็งและยั่งยืน สิ่งที่ทำ– สร้างงาน – หางาน ภายในชุมชนให้แก่ผู้สูงวัย– พัฒนาศักยภาพแรงงานผู้สูงวัยให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานภายในชุมชน– ส่งเสริมตลาดนัดภายในชุมชนเพื่อให้เกิดพื้นที่ขายสินค้าแก่ผู้สูงวัยในตำบลสันป่าเปา อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ผลที่เกิด– มีผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร “การดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน” ที่สามารถ รับจ้างอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุติดบ้านได้ และสามารถนำทักษะความรู้ไปดูแลคนภายในครอบครัว หรือญาติพี่น้องได้– ผู้สูงวัยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำงานภายในชุมชน– เกิดการจ้างงานผู้สูงวัยภายในชุมชน– ผู้สูงวัยมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดีขึ้น รู้สึกไม่โดดเดี่ยวและมั่นใจในการดูแลตนเอง ไม่เป็นภาระลูกหลาน บทเรียนและข้อค้นพบ สิ่งที่ควรทำ – ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงวัยให้ประกอบอาชีพที่เหมาะสมภายในชุมชน– สนับสนุนให้ผู้ประกอบการภายในชุมชน/ประชาชน จ้างงานผู้สูงวัยภายในชุมชน– การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ตามบริบทพื้นที่และความถนัดของผู้สูงวัย เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย สิ่งที่ไม่ควรทำ – การใช้อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี ที่ผู้สูงวัย ไม่ถนัดหรือเข้าถึงยาก จะทำให้ผู้สูงวัยรู้สึกว่าไม่ใช่พื้นที่ของตนเอง ทำให้รู้สึกต้องการอยู่ห่างไกลจากคนรุ่นใหม่มากกว่าเดิม สิ่งที่อยากส่งต่อ- ขยายผล– การขยายพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงตลาดการจ้างงานผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้น– ส่งต่อในรูปแบบของข้อเสนอเชิงนโยบายต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปสู่เทศบัญญัติเพื่อความยั่งยืนละต่อเนื่องของการสร้างงานแก่ผู้สูงวัยในชุมชน ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ […]
ดำเนินการโดย กลุ่มอนุรักษ์มรดกสันกำแพง เป้าหมายโครงการ เพื่อส่งเสริมผู้สูงวัยให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดการขยายตัวในการรวมกลุ่มผู้สูงอายุในการการถ่ายทอดฝีมือภูมิปัญญามากขึ้นในระดับอำเภอ กระบวนการสืบค้นหาผู้สูงอายุที่มีภูมิปัญญาในพื้นที่ต่างๆ สนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดฝีมือภูมิปัญญาของผู้สูงวัยสู่คนรุ่นใหม่เพื่อให้ภูมิปัญญาไม่สูญหาย และสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุ ผลที่เกิด – ผู้สูงวัยเกิดความภาคภูมิใจที่ได้รับการส่งเสริม มีความสุข มีกำลังใจ พร้อมที่จะทำงานและถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มี สู่คนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น– เกิดการขยายเครือข่ายผู้สูงอายุกับการถ่ายทอดภูมิปัญญา จากเดิม 1 ตำบล ขยายเป็น 5 ตำบล ส่งผลต่อผู้คนทั้งทางตรงและทางอ้อมมากกว่า 100 คน บทเรียนที่ค้นพบ– การสร้างเครือข่ายต้องอาศัยการติดตามผลงานที่สม่ำเสมอ พยามหาช่องทางให้เครือข่ายเติบโต สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากยิ่งขึ้น การขยายผลส่งต่อคนรุ่นใหม่ ให้ใส่ใจต่อผู้สูงวัยให้มากขึ้น รวมถึงการผนึกกำลังกับ อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้ช่วยกันขยายผลต่อไปให้สุดกำลัง ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อกลุ่มอนุรักษ์มรดกสันกำแพง https://www.facebook.com/profile.php?id=100078752092081
ดำเนินการโดย มูลนิธิสืบสานล้านนา เป้าหมายโครงการ กองทุนสวัสดิการครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนามีความ “มั่นคง” ทั้งด้านสมาชิก และทุนสวัสดิการ กระบวนการขักชวนกรรมการ คนทำงาน และสมาชิกให้มองเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจน หารือ แลกเปลี่ยน ปรับ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มั่นคง นำมาสู่แผนการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอน ผลที่เกิด มีการจัดระบบฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ได้จริง เช่น ข้อมูลระเบียบการรับสมัคร และการจ่ายสวัสดิการให้แก่สมาชิก เกิดารประชาสัมพันธ์ ทั้งแบบออฟไลน์ เช่น การจัดทำข้อมูลแผ่นพับประชาสัมพันธ์ที่สามารถสมัครสมาชิกกองทุนได้ทันที และออนไลน์การอับเดตการทำงานของกองทุนผ่านสื่อโซเซียล Line และทาง Facebook ชื่อเพจ กองทุนสวัสดิการครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เกิดการเชื่อโยงองค์กรภาคีภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อการระดมทุน จำนวน 4 องค์กร คือ กองทุนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่(พมจ.เชียงใหม่) , Greater Ching Mai , สมาคมศิลปกรรมราชมงคลล้านนา และ สมาคมขัวะศิลปะเชียงราย เกิด(ร่าง) แผนงานกองทุนสวัสดิการครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เชิงปริมาณ จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น จำนวน 53 คน จำนวนเงินทุนในการใช้สำหรับจ่ายสวัสดิการ เพิ่มขึ้น […]
ดำเนินงานโดย สมาพันธ์ SME ไทย จังหวัดเชียงใหม่ เป้าหมายโครงการเกิดต้นแบบรถแดงสาธารณะ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงาน ไฟฟ้า จํานวน 100 คัน และ มีการจัดทําแอพลิเคชั่น จํานวน 1 ระบบ และมีรถ แดงสาธารณะขับเคลื่อนด้วย พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในอนาคต สามารถพัฒนาข้อจํากัดที่มี ในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ทำมีการประชุมวิพากษ์แผนการดําเนิน การขับเคลื่อนรถแดงสาธารณะขับ เคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ า จํานวน 3 คร้ังในเวทีการประชุม กกร.จังหวัด เชียงใหม่ จํานวน 1 คร้ัง และ กรอ.จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 2 คร้ัง และเป็นข้อผลักดันการเป็นเมือง Smart City ด้าน Smart mobility และ Smart Energy รวมถึงการผลัก ดันเข้าเวทีสภาพลเมืองในเร่ืองการ ขับเคลื่อนขนส่งสาธารณะ เมือง เชียงใหม่วันที่ 20 พฤศจิกายน และ กลุ่มเป้าหมายแสดงความจํานงเข้า ร่วมทําข้อตกลงปรับเปลี่ยนเป็นรถ แดงสาธารณะขับเคลื่อนด้วยพลังงาน ไฟฟ้า ผลที่เกิดขึ้นเชิงคุณภาพ :เกิดการยอมรับ และสนับสนุน แผนการขับเคลื่อนรถแดง สาธารณะขับเคลื่อนด้วย พลังงานไฟฟ้า จากภาคีเครือ ข่ายท้ังภาครัฐ และเอกชน เชิงปริมาณ :ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน […]