PROJECTSYEAR PROJECTSยุทธศาสตร์ ที่ 3

ธนาคารอาหารลาหู่

เป้าหมาย
ชุมชนมีอาหารพื้นถิ่นบริโภคและใช้ประกอบพิธีกรรม ผ่านการสร้างธนาคารอาหารท้องถิ่นบ้านหน่าแต๊ตะ (แกน้อย)

กระบวนการ
จากการวิเคราะห์ปัญหาหลักๆ ของสมาชิกกลุ่มคือ ปัญหาหนี้สิน จึงได้นำเอาจุดแข็งของตัวเอง คือความเป็นชนเผ่าที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ของตัวเอง ผนวกกับการขาดแคลนอาหารในภาวะวิฤตที่ผ่านมา และกระแสอาหารเพื่อสุขภาพที่มาแรง ทำให้ตระหนักได้ว่า ความมั่นคงทางอาหารเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริงของกลุ่ม

 นำมาสู่การเพาะขยายพืชท้องถิ่นลาหู่ พืชโบราณ พืชที่เก็บไว้กินได้นาน พืชที่เสี่ยงสูญหาย ฟื้นฟูพืชที่หายไปจากชุมชน โดยการสรรหามาจากชุมชนลาหู่ในพื้นที่อื่นๆ หรือชนเผ่าอื่นๆที่ยังมีอยู่ โดยให้เกษตรกรนำร่อง 20 คนปลูก ในที่ทำกิน ที่สวนครัวหลังบ้านและพื้นที่แปลงรวมของกลุ่ม มีพืชทั้งหมดมากกว่า 100 ชนิด

ผลที่เกิด 
– มีการสำรวจข้อมูลพืชท้องถิ่น   สามารถฟื้นฟูพืชดั้งเดิม เช่น ป๊อบคอร์นดอย ข้าวฟ่างหลากสายพันธุ์
– ธนาคารอาหารพืชท้องถิ่นในชุมชน มีพืชที่ได้รับการเก็บรักษาเพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ต่อไป ไม่น้อยกว่า 20 ชนิด
– ครอบครัวนำร่อง 20 ครอบครัวมีอาหารท้องถิ่นบริโภคและใช้ประกอบพิธีกรรม และเกิดการแบ่งปันอาหารทั้งในชุมชนและนอกชุมชน
– นำพืชอาหารที่ปลูกได้ไปนำเสนอในงานต่างๆ  โดยการปรุงเป็นอาหารชนเผ่าลาหู่ และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ร่วมกับเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อให้เกิดการเผยแพร่และแบ่งปันทั้งข้อมูลแบะตัวเมล็ดพันธุ์

ข้อค้นพบ
– ชุมชนต้องวิเคราะห์ตัวเอง มองให้เห็นปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข มีความต้องการที่เห็นพ้องต้องกัน มีความชัดเจนในเป้าหมาย แล้วจึงวางแผน ออกแบบกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย 
– แสวงหาหน่วยงาน องค์กร ภาคี มาช่วยส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม

ขยายผล 
การสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องพืชท้องถิ่นลาหู่และเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดรายได้ แก้ปัญหาเรื่องหนี้สิน(ลดหนี้สิน)ของสมาชิกกลุ่มได้ในอนาคต