ดำเนินการโดย มูลนิธิสืบสานล้านนา


เป้าหมายโครงการ
กองทุนสวัสดิการครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนามีความ “มั่นคง” ทั้งด้านสมาชิก และทุนสวัสดิการ
กระบวนการ
ขักชวนกรรมการ คนทำงาน และสมาชิกให้มองเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจน หารือ แลกเปลี่ยน ปรับ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มั่นคง นำมาสู่แผนการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอน
ผลที่เกิด
- มีการจัดระบบฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ได้จริง เช่น ข้อมูลระเบียบการรับสมัคร และการจ่ายสวัสดิการให้แก่สมาชิก
- เกิดารประชาสัมพันธ์ ทั้งแบบออฟไลน์ เช่น การจัดทำข้อมูลแผ่นพับประชาสัมพันธ์ที่สามารถสมัครสมาชิกกองทุนได้ทันที และออนไลน์การอับเดตการทำงานของกองทุนผ่านสื่อโซเซียล Line และทาง Facebook ชื่อเพจ กองทุนสวัสดิการครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนา
- เกิดการเชื่อโยงองค์กรภาคีภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อการระดมทุน จำนวน 4 องค์กร คือ กองทุนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่(พมจ.เชียงใหม่) , Greater Ching Mai , สมาคมศิลปกรรมราชมงคลล้านนา และ สมาคมขัวะศิลปะเชียงราย
- เกิด(ร่าง) แผนงานกองทุนสวัสดิการครูสืบสานภูมิปัญญาล้านนา
เชิงปริมาณ
- จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น จำนวน 53 คน
- จำนวนเงินทุนในการใช้สำหรับจ่ายสวัสดิการ เพิ่มขึ้น 115,000.-บาท
ข้อค้นพบ
กระบวนการทำงานที่สำคัญ คือการศึกษาค้นคว้ากลุ่มเป้าหมายการทำงาน ที่ต้องชัดเจน และร่วมพูดคุยชี้แจงการทำงานโครงการฯ และเป้าหมายสุดท้ายที่ชัดเจนร่วมกัน
รวมไปถึงการวิเคราะห์ผลลัพธ์การทำงานในแต่ละช่วง เพื่อทบทวนแผนงานต่อไปว่าสามารถดำเนินการได้เลย หรือต้องปรับเพื่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์มากขึ้น
ขยายผล
– การดำเนินงานโครงการฯ นี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ทำให้กองทุนสวัสดิการฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านต่างๆ ทั้งการบริหารทุน การวิเคราะห์สมาชิกปัจจุบัน การวางแผนรับมือกับการจ่ายสวัสดิการมากขึ้น
– การลงนามความร่วมมือกับองค์กรภาคี ภาครัฐ กองทุนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปสูงขับเคลื่อการพัฒนาศักยภาพสมาชิกกองทุนสวัสดิการฯ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
มูลนิธิสืบสานล้านนา https://www.facebook.com/sslanna.Foundation